งานหินขัด (TERRAZZO)

งานหินขัด เป็นศิลปะการตกแต่งผิวพื้นและส่วนประกอบอาคาร มีประวัติสืบทอดอย่างต่อเนื่องมาจากประเทศอิตาลีเริ่มต้นจากการตกแต่งแบบจัดเรียงหินอ่อนที่มีสีสันต่างขนาดประมาณ3.5-5 เซนติเมตร เข้าด้วยกัน ซึ่งเรียก ว่า Marble Mosaic ส่วนใหญ่จะพบในคฤหาสน์ และปราสาทที่ก่อสร้างในยุคศตวรรษที่ 16 จุด กำเนิด และที่มาของงานหินขัดยังค้นไม่พบ แต่คาดต่อกันมาว่าคงจะเริ่มจากการพยายามสร้างสีสันและลวดลายลงบนพื้น เพื่อให้ดูหรูหราและสอดคล้องกับศิลปะและ

วัฒนธรรมในยุคเรเนสซองทั้งนี้มีเหตุเชื่อได้ว่ามาจากหินอ่อนธรรมชาติมีข้อจำกัดทางด้านสีสัน และขนาดรูปทรง หรือ การตบแต่งผิวพื้นแบบ Marble Mosaic เองคงมีราคาสูงมากเนื่องจากต้องใช้เวลา และความพยายามสูงมากในการจัดเรียง

สำหรับ งานหินขัด ให้ความสะดวกและความท้าทายงานออกแบบกับสถาปนิก และนักออกแบบมากกว่าการทํา Marble Mosaic เพราะเป็นการนําหินอ่อนเม็ดเล็ก ๆหลาย ๆ ขนาดมาผสมกับวัสดุซึ่งทำหน้าที่ยึดและประสานเม็ดหินที่เรียกว่า ปูนซีเมนต์ขาวแล้วหล่อลงบนพื้นที่หรือในแบบที่กำหนด แล้วขัดลอกผิวหน้าออกให้เกิดความเรียบ มันเงา ดุจหินอ่อนธรรมชาติแต่มีสีสันคละกันหลากหลาย และไม่ถูกจำกัดในเรื่องรูปทรงขนาด และลวดลายของงานหินขัดเหมือนแผ่นหินอ่อน ทุกวันนี้งานหินขัดยังเป็นที่นิยมกันอยู่อย่างแพร่หลาย ดังเช่น ในเยอรมัน อเมริกาโดยเฉพาะพื้นที่ๆ ที่ต้องการโชว์ความสวยงาม และงานตกแต่งที่ต้องการความหรูหราทันสมัย เป็นต้น

งานหินขัด เข้ามาในประเทศไทยประมาณสมัยรัชการที่ 5 ในยุคนี้ศิลปกรรมที่เกิดขึ้นได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอิตาลีเป็นส่วนมาก โดยเข้ามาในรูปของแผ่นสำเร็จรูปขนาด 10 x 10 เซนติเมตรและ 20 x 20 เซนติเมตร สำหรับการนำศิลปะการหล่องานหินขัดลงบนพื้นที่จริงๆ นั้น ผู้มีประสบการณ์ในวงการหินขัดไทยได้เล่าต่อกันมาว่า เป็นการริเริ่มของท่านพันเอกอร่าม รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ ซึ่งจบสถาปนิกจากเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบและเผยแพร่วิทยาการทางด้านงานหินขัด และนับจากนั้น เป็นต้นมา งานหินขัดในรูปแบบการหล่อกับที่ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสถานที่ราชการ ศาสนสถาน อาคารสำนักงาน โชว์รูม อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เป็นต้นเพราะงานหินขัด มีความสวยงาม คงทน อีกทั้งยังสะดวกต่อการบํารุงรักษา และทำความสะอาดงานหินขัดแม้จะมีจุดเด่นและข้อได้เปรียบวัสดุตกแต่งผิวพื้นประเภทอื่น ๆ อยู่มากก็ตามแต่ก็มีจุดอ่อนในการพัฒนาและควบคุมคุณภาพ เพราะยังไม่มีหน่วยงานใดหรือองค์กรใดเข้ามารับผิดชอบมาตรฐาน และกรรมวิธีการทำงานชนิดและประเภทของงานหินขัดตามที่กำหนดไว้ใน “ Specifications and technical Data “ โดย National Terrazzo and Mosaic Association, Inc. ของสหรัฐอเมริกาแยกได้ 6 ประเภทดังนี้คือ

  • งานหินขัดที่ทําโดยมีส่วนประกอบของหินเกล็ดขนาดมาตรฐานสากลเบอร์ 1,2,3 หรือ เทียบเป็นมาตรฐานของไทยได้แก่เบอร์4,3 และ 3.5 ความหนาน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 1.5 เซนติเมตร ซึ่งเรียกชื่อตามมาตรฐานสากลว่า สแตนดาร์ด (Standard) งานหินขัดประเภทนี้ในเมืองไทยได้นำมาดัดแปลง โดยใช้หินเกล็ดขนาดเล็กเป็นส่วนผสม แต่ความหนาของพื้นหินขัดจะอยู่ประมาณ 8 มิลลิเมตร ซึ่งบางกว่ามาตรฐานประมาณครึ่งหนึ่ง
  • งานหินขัดที่ทำโดย มีส่วนผสมของหินเกล็ดขนาดมาตรฐานสากลเบอร์ 0 ไปจนถึงเบอร์ 6 หรือเทียบเป็นาตรฐานไทยได้แก่ เบอร์ 4.5 จนถึงเบอร์ 1 ทุกขนาดรวมกันแล้วความหนาต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตรเรียกชื่อตามมาตรฐานสากลว่า แวนแนทเทน ( Venetian ) งานหินขัดประเภทนี้ในเมืองไทย ได้ดัดแปลงใช้หินเกล็ดเบอร์ 2,3,3.5 และ 4 เป็นส่วนผสม ความหนาของหินขัดจะอยู่ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งมีความหนาน้อยกว่ามาตรฐานสากล ประมาณ 1 เซนติเมตร
  • งานหินขัดที่ทำโดยการเชื่อมรอยต่อเศษหินอ่อน โดยใช้เศษหินอ่อนขนาดตั้งแต่ 4 ตารางนิ้วไปจนถึง 1 ตารางฟุตปูสลับคละขนาดกันให้แลดูกลมกลืน เชื่อมรอยต่อด้วยงานหินขัดประเภทสแตนดาร์ด ตามช่องว่างระหว่างรอยต่อของเศษหินอ่อน กว้างประมาณ 1.25 เซนติเมตรถึง 12.5 เซนติเมตรความหน้าไม้ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร เรียกชื่อตามมาตรฐานสากลว่า เบอร์ลิเนอร์หรือแพลแลดิไดนา (Berliner or Palladiana) ในเมืองไทยได้ดัดแปลงงานหินขัดประเภทนี้ที่พอเห็นได้ชัดเจนก็คือโต๊ะเก้าอี้สนามที่พื้นบนติดแผ่นหินให้แทรกด้วยเม็ดหินเกล็ดเม็ดเล็ก ๆ
  • งานที่มีลักษณะการผสมของหินเกล็ดแบนสแตนดาร์ด หรือ แบบแวนแนทเทน ซึ่งเมื่อหล่อหรือฉาบบนผิวพื้นหรือผนังอาคารแล้ว จะทำการล้างปูนซิเมนต์ส่วนที่เคลือบผิวหน้าเม็ดหินเกล็ดออกในขณะที่ปูนยังไม้ Set ตัว หลังจากที่ล้างผิวหน้าออกแล้ว ใช้สารเคมีทำความสะอาดครบน้ำปูน ที่ยังหลงเหลืออยู่จนสะอาดหมดจด งานลักษณะนี้ในเมืองไทยเรียกว่า “ การทําหินล้าง “ ปรกติจะนิยมใช้เฉพาะผนังของอาคารเท่านั้น เรียกชื่อตามมาตรฐานสากล รัสติด หรือวอสแชด(Rustic or Washed ) ในเมืองไทยได้ดัดแปลงงานหินขัดประเภทนี้กับงานตกแต่งพื้นหรือผนังของอาคารในลักษณะงานหินล้าง และไม่ได้ใช้สารเคมีล้างคราบปูนออกจากผิวเม็ดหินเหมือนที่มาตรฐานสากลกำหนด
  • งานหินขัดที่ทำโดย มีส่วนผสมอยู่ในประเภทเดียวกับ สแตนดาร์ดแต่มีสารประเภท Acetylene Carbon black ในส่วนผสมของผิวพื้นและวัสดุของพื้นห้องศัลยกรรมของโรงพยาบาล
  • งานหินขัดที่ทำโดย มีส่วนผสมอยู่ในประเภทเดียวกับสแตนดาร์ดหรือแวนแนทเทน แต่เพิ่มเติมส่วนผสมวัสดุที่ทำให้ผิวพื้นหยาบไม่ลื่นลงไปด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากการลื่นหกล้ม เนื่องจากผิวมันตามธรรมชาติของหินขัดส่วนใหญ่จะใช้เป็นงานหินขัดที่ใช้บริเวณหน้าห้องน้ำ และรอบๆ สระว่ายน้ำและพื้นที่กลางแจ้งเป็นต้นมาตรฐานและคุณภาพของงานหินขัด ในการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพของงานหินขัดในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานหรือ องค์กรใดเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม และรับรองผลงานโดยตรง ปัจจุบันคงเป็นหน้าที่ของ ผู้ทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง และผู้ตรวจการจ้างเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ยังคงเป็นปัญหากับงาน คือเมื่องานเสร็จแล้ว หินขัดกลายเป็นปัญหาในการรับมอบงาน ราคาค่าทำงานหินขัดที่ผู้รับเหมาได้รับต่ำกว่าที่ควร และยังต้องถูกหักเปอร์เซ็นต์จากผู้เกี่ยวข้อง แข่งขันตัดราคากันเองบ้าง เมื่อไม่มีมาตรฐานกำหนดก็ไม่มีเครื่องวัดคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการทำยาวนาน ซึ่งเจ้าของอาคาร หรือ ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน และผู้ตรวจรับงาน ไม่สามารถแก้ไขได้

คุณภาพของงานหินขัดที่ดีและพอกำหนดเป็นมาตรฐานได้มี 4 ประการดังนี้คือ

  • พื้นผิวหน้าของงานหินขัดเมื่อขัดเสร็จแล้วจะต้องปรากฏเม็ดหินเกล็ดต่างขนาดกระจายเรียงชิดอัดกันแน่นสม่ำเสมอเนื่องจากความเงางามและความคงทนของงานหินขัดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติตามธรรมชาติของเนื้อเม็ดหิน ดังนั้นช่องว่างระหว่างเม็ดหินเกล็ดที่ใช้ต่างขนาดกัน ไม่ควรห่างเกิน 3 ถึง 6 มิลลิเมตร ตามแต่ขนาดของเม็ดหินเกล็ดที่ใช้ตามมาตรฐานของ National Terrazzo and Mosaic Association, Inc. กำหนดให้งานหินขัดมีผิวของเม็ดหินต้องปรากฏไม่น้อยกว่า 70 % ของพื้นที่ผิวทั้งหมด
  • ผิวต้องเรียบเนียนมันเงางามลื่นตั่งแต่ขัดเสร็จก้อนลงน้ำมันชักเงา งานหินขัดที่มีลักษณะผิวด้าน ๆ นั้นเกิดจากการทำงานที่ไม่ได้มาตรฐาน ความมันเงาที่เกิดขึ้นบนผิวงานเมื่อส่งมอบงานนั้นได้จากการลงน้ำมัน หรือขี้ผึ้งที่เคลือบไว้บนหน้า เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง น้ำมันหรือขี้ผึ้งที่ลงไว้จะระเหยหรือหลุดร่อนออกไป ผิวของงานหินขัดจะปรากฏผิวด่างด้านใสให้เห็นนอกจากนี้อาจปรากฏรูพรุนของฟองอากาศซึ่งเล็กมากซึ่งเรียกกันว่ารูตามด และยังอาจปรากฏรอยบดขัดของวัสดุที่ใช้ขัดสิ่งสกปรกที่ลงไปอุดตันอยู่ในเนื้ออย่างฝังแน่น ไม่สามารถขัดล้างออกได้นอกจากทำการจัดลอกผิวหน้าใหม่
  • ผิวงานหินขัดเรียบได้ระดับงานหินขัดที่ดีต้องมีผิวเรียบได้ระดับสม่ำเสมอไม่เป็นหลุมเป็นแอ่งเว้าหรือเป็นลื่นไม่น่าดูการสังเกตงานหินขัดในระยะใกล้อาจมองไม่เห็นหลุมหรือแอ่งแต่ถ้ามองในระยะไกลออกไปหรือราดน้ำลงบนผิวงานรอให้น้ำระเหยแห้ง (กรณีงานพื้นหินขัด) จะทำให้ปรากฏน้ำขังแอ่งหรือหลุมนอกจากนี้ผิวงานหินขัดที่เร่งขัดผิวเร็วเกินไปจะปรากฏการนูนของเม็ดหินเกล็ดชัดเจนเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งจะสังเกตได้จากงานหินขัดที่อยู่กลางแจ้ง เช่น โต๊ะ สนามเป็นต้น
  • โทนสีกลมกลืนสม่ำเสมอ งานหินขัดที่ดีต้องไม่มีผิวด่างหรือเข้มเป็นส่วน ๆ อันเกิดจากการผสมสีพื้นไม่เข้ากัน หรือแต่งผิวหน้าไม่ดีหรือการทำงานหินขัดที่มีหลายสีไม่ถูกวิธี หรือเตรียมรองพื้นก่อนทำงานหินขัดไม่ดีพอ ทำให้ความชื้นจากพื้นดินซึมผ่านเข้ามาปะปนกับ ส่วนผสมของหินหัดซึ่งมักจะพบมากในงานหินขัดที่สีพื้นอ่อนๆ

ขอมูลทั้งหมดนี้ขอขอบคุณ อาจารย์อวยชัย สุภาพจน์

ค้นหา

นับจำนวนผู้เข้าชม

00704208
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
23
258
808
628694
3364
7245
704208

Your IP: 3.141.21.106
Server Time: 2025-01-15 04:30:11